บทความ

โพรไบโอติกส์สัมพันธ์กับโรคอ้วน?

โพรไบโอติกส์สัมพันธ์กับโรคอ้วน?

เคยสงสัยไหมครับว่า ทำไมบางคนกินนิดหน่อยแล้วอ้วน แล้วทำไมบางคนกินอย่างเยอะ แต่ไม่อ้วนเลย? งานวิจัยต่อไปนี้อาจให้คำตอบคุณได้ครับ เมื่อไม่นานมานี้วารสารชื่อดังอย่าง Science ได้ตีพิมพ์ผลงานของนักวิจัยจาก Washington University ซึ่งได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับเรื่องแบคทีเรียในท้องว่าอาจจะเป็นแนวทางในการต่อสู้กับโรคอ้วนอย่างได้ผล โดยเริ่มต้นที่ฝาแฝดแท้ 4 คู่เป็นตัวแทนของคนที่มีพันธุกรรมเหมือนกันแต่ต่างกันที่ฝาแฝดคนหนึ่งเป็นโรคอ้วน แต่อีกคนหนึ่งมีรูปร่างปกติ จากนั้นก็นำ “แบคทีเรียจากอึ (uncultured fecal microbiota)” มาส่งต่อให้หนูทดลองที่ถูกเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อ เพื่อให้แน่ในว่าในท้องของหนูทดลองจะมีแต่เชื้อที่สนใจเกิดขึ้นมาใหม่เท่านั้น แล้วให้อาหาร ไขมันต่ำ เส้นใยสูง ในปริมาณ ที่เท่ากันเป๊ะๆ ทั้งสองกลุ่ม

จากนั้นก็เกิดผลทดลองที่น่าสนใจ คือ คือ หนูชุดที่ได้รับแบคทีเรียจากแฝดอ้วนกลายเป็นหนูอ้วน ส่วนหนูอีกชุดที่ได้รับแบคทีเรียจากแฝดผอมกลับมีรูปร่างปกติ หลังจากนั้นทีมวิจัยก็ได้ทดลองต่อไป คือ นำหนูทั้งสองชุดมาขังไว้รวมกัน เพื่อให้หนูทดลอง “หม่ำอึ” กันเอง ซึ่งสุดท้ายพบว่าหนูทดลองที่เคยอ้วนเมื่อได้หม่ำอึของหนูชุดที่ผอมก็กลับชลอน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้จริงๆ ตรงข้ามกับหนูผอมที่หม่ำอึหนูอ้วนกลับไม่อวบอึ๋มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งจุลินทรีย์ชั้นดีหรือ “โพรไบโอติกส์” นี่เองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมน้ำหนักโดยตรง ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ต่อยอดงานวิจัยนี้โดยทดลองศึกในคนจริงๆ โดยให้แบคที่เรีย Probiotics แก่กลุ่มคนที่เป็นโรคอ้วนพบว่าหลังทาน Probiotics มวลไขมันในร่างกาย ไขมันในช่องท้อง ความยาวรอบเอว ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ (Álvarez-Arraño และคณะ, 2021) นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาพบว่าในคนรูปร่างดี จะมีแบคทีเรียที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันสูงกว่ากลุ่มคนที่เป็นโรคอ้วน เพราะฉะนั้นคนที่มีปัญหาน้ำหนักเยอะ และต้องการที่จะควบคุมน้ำหนัก การเลือกรับประทานอาหารเสริมอย่าง “โพรไบโอติกส์” จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะเข้าไปช่วยปรับความสมดุลของร่างกาย และยังส่งผลดีต่อการลดน้ำหนักหรือการลดความอ้วนอีกด้วย

ทั้งนี้ในร่างกายของแต่ละคนนั้นก็จะมีจำนวนจุลินทรีย์ที่แตกต่างกันออกไป โดยจุลินทรีย์ในลำไส้ที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนจะมีหลากหลายสายพันธุ์ ซึ่งทำให้แต่ละคนมีระบบการเผาผลาญและการควบคุมน้ำหนักที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เรามีความจำเป็นที่จะต้องสร้างสมดุลให้กับเหล่าจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกาย เพื่อให้พวกเขาได้เข้าไปช่วยจัดการกับระบบย่อยและดูดซึมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ร่างกายได้รับจุลินทรีย์ที่ครบถ้วน การเลือกผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์ที่ดีนั้นควรเลือกจาก

● เลือกโพรไบโอติกส์ที่มีการระบุสายพันธุ์ที่มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม รวมถึงให้ผลลัพธ์ที่เฉพาะเจาะจง

● เลือกผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และเป็นสายพันธุ์ที่มีความแข็งแรงสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงในกระเพาะอาหารได้ ทำให้จุลินทรีย์สามารถไปถึงลำไส้ได้โดยที่ยังมีชีวิต และช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกายอย่างเต็มที่

● เลือกผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ ที่เป็นสายพันธุ์จุลินทรีย์ดีและมีความสามารถตามธรรมชาติในการยึดเกาะกับผนังลำไส้ และไม่ถูกขับถ่ายออกไปได้ง่าย เพื่อช่วยส่งเสริมการเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์ชนิดดีเมื่อใช้อย่างต่อเนื่อง

อาจกล่าวได้ว่าการใช้โพรไบโอติกส์เข้ามาช่วยในการลดน้ำหนักนั้น จะช่วยให้สุขภาพของเราแข็งแรงขึ้นในทุกๆ ด้าน เนื่องจากจะเป็นการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ให้สามารถทำงานได้อย่างดีและเต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นในการดูแลสุขภาพที่ทั้งช่วยลดน้ำหนักและเสริมประสิทธิภาพการทำงานของร่างกายให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

เราขอแนะนำให้รู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์ของเราซึ่งคัดเลือกสายพันธุ์พิเศษเฉพาะ โดยใช้เทคโนโลยี SYNTEKTM MATRICOAT เคลือบด้วยโพรไบโอติกส์ (Prebiotics) เป็นชั้นบางๆด้านนอก ได้รับการทดสอบแล้วว่าสามารถทนกรดด่าง มีชีวิตรอด มีความสามารถในการยึดเกาะและสร้าง Community ของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ได้ เป็นสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่คัดสรรเพื่อสุขภาพองค์รวมของคุณ

เอกสารอ้างอิง 1. Álvarez-Arraño, V., & Martín-Peláez, S. (2021). Effects of probiotics and synbiotics on weight loss in subjects with overweight or obesity: A systematic review. Nutrients, 13(10), 3627. 2. Ridaura. K et. al. Gut Microbiota from Twins Discordant for Obesity Modulate Metabolism in Mice. (2013). Science: Vol. 341 no. 6150