ARTICLES

ต้านโควิดต้องกินโพรไบโอติกส์

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่สร้างอาณานิคมอยู่ในร่างกายมนุษย์ โดยเฉพาะในส่วนระบบทางเดินอาหาร รวมถึงในระบบอื่นๆ ของร่างกาย โพรไบโอติกส์ถือเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เนื่องจากมีส่วนช่วยในการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซึมอาหาร ป้องกันโรค สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ชนิดก่อโรคหรือไวรัสร้ายเกิดขึ้นในร่างกาย

รูปที่ 1 กลไกการออกฤธิ์ของโพรไบโอติกส์ในการจัดการกับเชื้อไวรัสโคโรน่า (SAR-CoV-2) ที่มา : Singh และคณะ (2021)  

โพรไบโอติกส์ต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรน่าได้อย่างไร?

การระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่หายไปจากสังคม ทำให้จำนวนผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นในประเทศไทย แม้จะสามารถรักษาให้หายได้ แต่ก็ต้องระวังอาการลองโควิด หรือในช่วง Home Isolation ระหว่างการกักตัว 14 วัน ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายไม่ให้ภูมิคุ้มกันตก เกิดผื่นแดงโควิด ซึ่งอาการเหล่านี้ สามารถบรรเทาได้ด้วยการใช้โพรไบโอติกส์

ในที่นี้ผมจะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงกลไกลการทำงานของโพรไบโอติกส์ในการทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรน่า ตามมาดูกันครับ โพรไบโอติกส์สามารถจัดการเชื้อไรรัสได้โดยผ่านกลไกลต่างๆดังต่อไปนี้ครับ ในที่นี้ผมขออธิบายผ่านรูป (รูปที่ 1) เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น

  1. โพรไบโอติกส์สามารถจู่โจมไวรัสโคโรน่าโดยตรงและยับยั้งไวรัสการเข้าสู่เซลล์
  2. การจับตัวของโพรไบโอติกส์กับเยื่อบุผิวทำให้เกิดอุปสรรค หรือที่คำศัพท์เทคนิคทางวิชาการใช้คำว่า “Steric hindrance” ซึ่งคำว่า “hindrance” หากเราเปิดพจนานุกรมจะให้ความหมายว่า “อุปสรรค” แสดงว่าเจ้าโพรไบโอติกส์จะต้องสร้างอุปสรรคอะไรบางอย่างเพื่อต่อต้านไวรัส ดูจากภาพ B ผู้อ่านเห็นเจ้าโพรไบโอติกส์ตัวสีเขียวไหมครับ มันมีลักษณะเหมือนเป็นหนามแหลมยื่นยาวออกมาจากตัว หากยังนึกไม่ออกผมอยากให้เราลองจินตนาการถึง “ผลเงาะ” ที่มีขนปุกปุยยื่นออกมาจากตัวเงาะ การมีหนามแหลมหรือขนปุกปุยยื่นออกมาจะเป็นเกราะป้องกันไวรัสไม่ให้มาถึง Epithelial cells ได้ นี่แหละครับที่เรียกว่า Steric hindrance นอกจากนี้เจ้าโพรไบโอติกส์ยังสามารถบล็อกไวรัสไม่ให้เข้าสู่ตัวรับเซลล์ของเจ้าบ้านได้ (Host cell receptor) ไวรัสเปรียบเสมือนสิ่งแปลกปลอมหากจะว่าไปแล้วก็เหมือนคนต่างด้าวที่พยายามจะเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ซึ่งในรางกายของเราจะมีตัวรับเซลล์ที่ชื่อ Angiotensin-converting enzyme 2 เรียกสั้นๆว่า ACE2 เปรียบเสมือนด่าน ต.ม. ซึ่งไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายเราไม่ได้หากไม่ผ่าน ต.ม. นี้ ดังนั้นเจ้าไวรัสจึงพยายามจับ ACE2 เหมือนเป็นการยื่นพาสปอร์ตเพื่อให้ผ่าน ต.ม. แต่โพรไบโอติกส์ในตัวเราสามารถไปแย่งจับ ACE2 ป้องกันไม่ให้ไวรัสผ่าน ต.ม. เข้ามาได้ครับ โอ้โห! นี่แค่ 2 กลไกแรกเองนะครับเห็นหรือยังครับว่าเจ้าโพรไบโอติกส์มันเจ๋งแค่ไหน
  3. กลไกต่อมาคือเจ้าโพรไบโอติกส์สามารถปล่อยสารต้านจุลชีพและเยื่อเมือก (Antimicrobial substances) เช่น bacteriocins, biosurfactants, lactic acid, hydrogen peroxide, nitric oxide, organic acids ซึ่งสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยทีเดียว
  4. ไวรัสถูกยับยั้งโดยสารคัดหลั่งแอนติบอดี เช่น IgA
  5. อย่างไรก็ตามเมื่อไวรัสสามารถเล็ดลอดหรือผ่าน ต.ม. เข้ามาได้ สิ่งที่เจ้าโพรไบโอติกส์จะทำต่อมาคือ กระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันโดยกระตุ้นแมคโครฟาจและเซลล์เดนไดรต์ ลองดูข้อ F ตามรูปนะครับ จะมีการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาว CD8+ เปลี่ยนเป็น CTL ซึ่งสามารถทำลายเซลล์ที่ติดไวรัสได้ ข้อ G เซลล์ลิมโฟไซต์ CD4+ เปลี่ยนไปเป็น Th1 ซึ่งกระตุ้นฟาโกไซโตซิสผ่าน NK Cell และแมคโครฟาจส่งเสริมการฆ่าเชื้อไวรัส ส่วนข้อ H เซลล์ CD4+ เปลี่ยนเป็นเซลล์ Th2 ซึ่งกระตุ้นการเพิ่มจำนวนของเซลล์ B ที่สร้างแอนติบอดีชนิดต่างๆคือ IgA, IgG, IgM

 

โพรไบโอติกส์หาได้จากที่ไหน?

ปัจจุบันมีอาหารที่มีโพรไบโอติกส์เป็นส่วนผสม มีอยู่มากมาย เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ นอกจากนี้ ยังมีอาหารหมักอื่นๆ ที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์มิโซะหรือเต้าเจี้ยวญี่ปุ่น, เทมเป้, ผักเสี้ยนดอง, กะหล่ำปลีดอง, ขนมปังเปรี้ยว (Sourdough Bread) และแตงกวาดอง

จะเห็นได้ว่าเชื้อโพรไบโอติกส์ส่วนใหญ่มักอยู่ในอาหารหมักดอง อย่างไรก็ตามสภาวะการหมักที่ไม่เหมาะสมหรือนานจนเกินพอดีอาจทำให้เชื้อดีตายเชื้อร้ายแทรกได้ การพิจารณาถึงแหล่งที่มาจึงเป็นเรื่องสำคัญ นอกจากนี้การหาทานโพรไบโอติกส์จากอาหารต่างๆเหล่านี้ก็ไม่ได้การันตีว่าเราจะได้รับโพรไบโอติกส์ที่เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันได้ นอกจากนี้โพรไบโอติกส์เหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่ทนกรด ด่าง และเอนไซม์ในทางเดินอาหารจึงอาจตายไปก่อนและไม่เหลือรอดไปถึงลำไส้เพื่อสร้างชุมชนจุลินทรีย์ได้หรือต่อให้มีส่วนที่เหลือรอดไปได้ ก็อาจไม่มีความสามารถในการยึดเกาะผนังลำไส้ได้ดีพอ จึงถูกขับออกไปทางมวลอุจจาระ การทานโพรไบโอติกส์จากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงอาจเป็นทางเลือกที่ง่ายและสะดวกกว่า

เราจึงขอแนะนำให้รู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติกส์ของเราซึ่งคัดเลือกสายพันธุ์พิเศษเฉพาะโดยใช้เทคโนโลยี SYNTEKTM MATRICOAT เคลือบด้วยโพรไบโอติกส์ (Prebiotics) เป็นชั้นบางๆด้านนอก ได้รับการทดสอบแล้วว่าสามารถทนกรดด่าง มีชีวิตรอด มีความสามารถในการยึดเกาะและสร้าง Community ของจุลินทรีย์ในลำไส้ได้

เอกสารอ้างอิง

1. Singh, K., & Rao, A. (2021). Probiotics: A potential immunomodulator in COVID-19 infection management. Nutrition Research, 87, 1-12.